หลักสูตรปฐมวัย

การเรียนรู้ตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จัดทำขึ้นเพื่อผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กวัย 3-6 ปี ได้มีความเข้าใจการพัฒนาเด็ก ให้มีพัฒนาการทุกด้านสมดุล ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาตามวัย และ ความสามารถของแต่ละบุคคล โดยผ่านกระบวนการเล่น เน้นให้เกิดประสบการณ์ตรง ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความพร้อม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ให้เชื่อมโยงความคิดในระดับที่สูงขึ้นไป

เด็กวัย 3-6 ปี เป็นวัยที่สมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กจำเป็นต้องได้รับความรัก ความเอาใจใส่ และดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กวัยนี้ควรได้รับการพัฒนาดวยการเรียนรู้ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียนรู้โดยการสำรวจ การเล่น การทดลอง การวิเคราะห์ ซึ่งเด็กสามารถค้นพบได้ด้วยตนเอง รู้จักการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ใช้ภาษาสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการและปฏิบัติตามอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

ผู้รับผิดชอบจึงมีหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์ให้เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ ส่งเสริมให้เด็กได้สังเกตุ สำรวจ สร้างสรรค์ และเพิ่มความกระตือรือร้นของเด็กมากขึ้นเท่าใด เป็นบ่อเกิดของการเรียนรู้ที่เพิ่มขี้นตามลำดับ ผู้รับผิดชอบจึงควรส่งเสริมสนับสนุน ให้ความรัก ให้กำลังใจ และความเข้าใจ เอาใจใส่ เด็กวัยนี้เป็นพิเศษ เพื่อเป็นพื้นฐานที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้เด็กได้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี คนเก่ง และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

โรงเรียนได้กำหนดสาระการเรียนรู้ไว้ 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ประสบการณ์สำคัญ ดังนี้
1.1 ด้านร่างกาย
1.2 ด้านอารมณ์ และจิตใจ
1.3 ด้านสังคม
1.4 ด้านสติปัญญา

ส่วนที่ 2 สาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้
2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
2.3 เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก
2.4 เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

วางแผนการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรม 6 หลักคือ
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
4. กิจกรรมกลางแจ้ง
5. กิจกรรมเกมการศึกษา
6. กิจกรรมเล่นตามมุม

เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา เต็มศักยภาพ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่ และ กล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และ ประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตดี และ มีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และ จิตใจที่ดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และ การออกกำลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข และปฎิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามวัย
10. มีความสามารถในการคิด และ แก้ปัญหา ได้เหมาะสมตามวัย
11. มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
12. มีเจตนคติที่ดีต่อการเรียนรู้

ขอขอบคุณในการร่วมมือของคณะทำงานทุกคนที่เห็นความสำคัญ และมีความกระตือรือร้นช่วยกันคิดวิเคราะห์ ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้ได้มาตรฐาน ทางการศึกษา โดยสามารถนำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลมะลิวรรณวิทยา ฉบับนี้ไปพัฒนาเด็กได้ถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น